หลายท่านคิดว่าโรคปริทันต์ คือโรคเหงือกอักเสบเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วยังรวมถึงโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะรอบๆฟัน อันได้แก่ เหงือก, กระดูกเบ้าฟัน, เอ็นยึดรากฟัน และผิวรากฟัน
การติดเชื้อของอวัยวะรอบๆฟันดังกล่าว สามารถแยกออกได้ตามความรุนแรงของโรค โดยมีด้วยกันสองขั้นตอนคือ “เหงือกอักเสบ” และ “ปริทันต์อักเสบ” ซึ่งเหงือกอักเสบมีผลเฉพาะกับเหงือก และสามารถรักษาได้ แต่หากปล่อยไว้จะมีความรุนแรง และมีผลการทำลายกระดูกเบ้าฟันในที่สุด จะเรียกว่าโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งจะมีขั้นตอนการรักษาที่ซับซ้อนกว่ามาก
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคสูงขึ้น ได้แก่
- การสูบบุหรี่
- โรคเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น โรคเบาหวาน
- การรักษาหรือใช้ยาบางประเภท เช่น สเตอรอยด์, ยารักษาระบบประสาทบางชนิด, ยารักษาโรคมะเร็ง, ยาคุมกำเนิด
- สะพานฟันที่ไม่พอดี
- ฟันคดงอ
- การอุดฟันที่ไม่ถูกต้อง
- การตั้งครรภ์หรือการใช้ยาคุมกำเนิด
มีสิ่งบอกเหตุหลายอย่างที่ช่วยให้สังเกตได้ ดังนี้
- เลือดออกตามไรฟันบ่อยๆ
- เหงือกแดงและร่น
- เหงือกที่ไม่ติดกับฟัน
- ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
- ฟันแท้คลอนหรือห่าง
- ความเปลี่ยนแปลงที่ฟันสบกันเมื่อเคี้ยว
- ความเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อฟันปลอมให้ไม่แน่นเหมือนเดิม
แต่ก็เป็นไปได้ที่จะมีเชื้อโดยที่ไม่มีสิ่งบอกเหตุให้สังเกตเห็นได้ ซึ่งเป็นเหตุให้คุณควรไปรับการตรวจฟันเป็นประจำ วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงของเชื้อที่มีผลต่อฟัน การดูแลสุขภาพฟันอย่างดี จะช่วยป้องกันความรุนแรง และการเกิดซ้ำของเชื้อได้ คุณไม่ควรต้องสูญเสียฟัน หรือติดเชื้อโดยไม่จำเป็น หมั่นรักษาความสะอาดของฟัน, รับประทานอาหารอย่างเหมาะสม, และเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำ จะช่วยให้ปลอดภัยจากโรค
การตัดแต่งเหงือกเป็นการผ่าตัดบริเวณเหงือกเพื่อหลายวัตถุประสงค์ ได้แก่ เพื่อเพิ่มความสวยงาม ให้ตัวฟันดูยาวขึ้น, เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำความสะอาดบริเวณนั้นได้ดีขึ้นในกรณีที่เป็นโรคปริทันต์ หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบูรณะฟันเป็นต้น