ทันตกรรมประดิษฐ์ (ฟันปลอมชนิดต่างๆ)

เมื่อคุณสุญเสียฟันไปบางซี่หรือทั้งปาก คุณจะรู้สึกได้ถึงความแตกต่างเมื่อเคี้ยวหรือพูด การใส่ฟันปลอม (ฟันเทียม) มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการช่วยคืนสภาพช่องปากให้ใกล้เคียงกับสภาพดั้งเดิม ซึ่งเรามีรูปแบบของฟันปลอมหลากหลายชนิดที่เหมาะสมกับคุณดังต่อไปนี้

สะพานฟันช่วยรักษารูปทรงของใบหน้า ขณะที่ช่วยบรรเทาแรงกด เมื่อขบเคี้ยวด้วยฟันซี่ที่หายไป สะพานฟันนี้เป็นการแทนที่ฟันที่หายไป

สะพานฟันแบบ implant เป็นการติดฟันปลอมเข้าโดยตรง กับรากฟันเทียม ซึ่งการจะเลือกสะพานฟันชนิดใด จะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของทันตแพทย์ และความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับ ความแข็งแรงของโครงสร้างฟัน ดังนั้นสุขภาพฟันโดยรวม ที่แข็งแรงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง

ถ้าคุณสูญเสียฟันธรรมชาติทั้งหมด ไม่ว่าจะเกิดจากโรคทางช่องปาก, ฟันผุ, หรือจากอุบัติเหตุ การทำฟันปลอมทั้งปาก จะช่วยแทนที่ฟันที่หายไปได้ และให้รอยยิ้มที่สวยงามกลับคืนมา เป็นของคุณอีกครั้ง ซึ่งฟันปลอมมีคุณประโยชน์ทั้งด้านสุขภาพ และภาพลักษณ์ของคุณ เพราะหากขาดฟันในตำแหน่งตามธรรมชาติ กล้ามเนื้อใบหน้าจะเสื่อมถอย อีกทั้งกระดูกขากรรไกรจะยุบตัวมากขึ้น ทำให้ดูมีอายุมากกว่าความเป็นจริง

ฟันปลอมทั้งปากมีหลายชนิด ได้แก่ ฟันปลอมทั้งปากแบบปกติ (Conventional Dentures), แบบใส่ไว้ในปากคนไข้ทันทีหลังจากที่ฟันถูกถอนออก (Immediate Dentures) หรือ แบบใส่เมื่อเหงือกได้พักฟื้นเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว

ฟันปลอมทั้งปากแบบใส่ทันที คือการใส่ฟันปลอมทันทีที่ถอนฟัน โดยทันตแพทย์ได้พิมพ์ปาก และสร้างรูปหล่อปากของคนไข้ไว้แล้ว ด้วยวิธีนี้คนไข้จะได้มีฟันครบปากตลอดเวลาไม่ต้องรอเป็นเวลาหลายเดือน

แม้คุณจะใส่ฟันปลอมทั้งปาก คุณก็ยังต้องรักษาสุขภาพปากอยู่ ด้วยการแปรงเหงือก, ลิ้น, และเพดานปากทุกเช้า ด้วยแปรงที่มีขนแปรงแบบนุ่ม ก่อนจะใส่ฟันปลอม เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือดในเหงือก และช่วยป้องกันหินปูน

ฟันปลอมบางส่วนแบบถอดได้ โดยมากมักจะประกอบด้วยการแทนที่ฟัน ด้วยฐานทำด้วยวัสดุพลาสติกสีชมพู ที่เชื่อมต่อกับโครงโลหะ ฟันปลอมชนิดนี้ ถูกนำมาใส่กับฟันปกติของคุณ ด้วยตัวเกี่ยวโลหะซึ่งแทบสังเกตไม่เห็น เมื่อนำมาใส่ การครอบฟันอาจช่วยให้การยึดติด แน่นขึ้น การเชื่อมแบบนี้อาจมีค่าใช้จ่ายแพงขึ้น ให้ปรึกษากับทันตแพทย์ว่าการเชื่อมแบบไหน จึงจะเหมาะกับคุณ

การใส่ฟันปลอม

  • หากฟันปลอมมีตะขอ ให้ใช้นิ้วโป้งวางใต้ตะขอแล้วดันขึ้น ไม่ใช่ปลายตะขอและไม่ใส่โดยการกัดให้เข้าที่

การรับประทานอาหาร

  • รับประทานอาหารอ่อน ๆ คำเล็ก ๆ และเคี้ยวช้า ๆ พยายามหัดเคี้ยวบริเวณฟันกรามหลังพร้อม ๆ กันทั้งสองข้างเพื่อป้องกันฟันปลอมกระดก
  • อย่ากัดอาหารด้วยฟันหน้า ควรใช้ฟันเขี้ยวหรือฟันกรามน้อยแทน

การพูด

  • อาจมีความรู้สึกคับปาก พูดไม่ชัด
  • ฝึกหัดอ่านออกเสียงดัง ๆ วันละอย่างน้อย 20 นาที

การใส่ฟันปลอมตอนกลางคืน

  • 2 – 3 วันแรก อาจใส่ตอนนอนได้ เพื่อให้คุ้นเคยกับฟันปลอมได้เร็วขึ้น
  • หลังจากนี้ควรถอดฟันปลอมออกก่อนนอนเสมอ เพื่อให้เนื้อเยื่อในช่องปากได้พักและไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคใต้ฟันปลอม

อาการเจ็บ

  • ถ้าเจ็บจนทนไม่ได้ให้ถอดฟันปลอมออกแช่น้ำไว้ ใช้น้ำเกลืออุ่น ๆ อมในปาก
  • ควรพยายามอดทนใส่ฟันปลอมตลอดเวลาก่อนถึงวันนัด เพื่อความสะดวกในการตรวจและแก้ไขบริเวณที่เจ็บ
  • ไม่ควรแก้ไขฟันปลอมเอง โดยการขูด เพิ่ม เสริม หรือใช้วัสดุช่วยยึดต่าง ๆ

การรักษาความสะอาด

  • ทำความสะอาดฟันปลอมและช่องปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหารและก่อนนอน
  • ใช้สบู่อ่อน ๆ หรือนำยาซักล้าง ใช้แปรงขนอ่อน, แปรงสำหรับฟันปลอม, แปรงสำหรับเด็กในการทำความสะอาดฟันปลอม
  • ห้ามใช้แปรงชนิดแข็งหรือยาขัดที่มีผงขัดทำความสะอาดฟันปลอม เพราะจะทำให้ฟันปลอมสึก เป็นรอยได้ง่าย
  • ห้ามบีบฟันปลอมไว้ในฝ่ามือขณะแปรงทำความสะอาด เพราะอาจจะหักได้
  • ห้ามใช้น้ำร้อนจัดทำความสะอาดฟันปลอม เพราะจะทำให้ฐานฟันปลอมบิดเบี้ยวได้
  • ควรทำความสะอาดฟันปลอมเหนือภาชนะ หรืออ่างที่มีน้ำรองรับอยู่เพื่อไม่ให้ฟันปลอมตกแตก
  • ควรแช่ฟันปลอมไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำและมีฝาปิด ช่วงกลางคืนเมื่อไม่ใส่นอน อาจผสมน้ำยาแช่ฟันปลอมหรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคอย่างอ่อนลงไปด้วย
  • อาจใช้น้ำยาเคมีทำความสะอาดฟันปลอมเมื่อมีหินน้ำลายเกาะ เลือกใช้น้ำยาที่มีไฮโปคลอไรด์ หรือ 5% ของกรดไฮโดรคลอริกผสมอยู่ โดยแช่ฟันปลอมค้างคืนในน้ำยาดังกล่าว ห้ามใช้น้ำยานี้กับฟันปลอมที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ

ข้อควรปฏิบัติกับช่องปาก

  • ควรใช้แปรงอ่อน ๆ แปรงเนื้อเยื่อช่องปากของตนเอง อาจใช้ร่วมกับยาสีฟัน
  • ใช้นิ้วนวดสันเหงือก เพดาน และเนื้อเยื่อที่รองรับใต้ฟันปลอมให้ทั่ว เพื่อกระตุ้นการหมุนเวียนเลือด
  • แปรงลิ้นให้สะอาด
  • เสร็จแล้วบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากหรือน้ำเกลืออีกครั้ง ช่วยลดเชื้อโรคและทำให้ปากสะอาดสดชื่น
LINE@bangkokdentist
Tiktok
Facebook Page
LINE@bangkokdentist
IG@chatuchakdentalcenter
Facebook Page